วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

มนุษย์โครมันยอง

มนุษย์โครมันยอง
มนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnon  Man) มีหลักฐานชัดเจน  โครงกระดูกของมนุษย์โครมันยองพบครั้งแรกที่แคว้นเวลส์ในประเทศอังกฤษ เมื่อ ค.ศ. 1823 ต่อมาใน  ค.ศ. 1868 พบโครงกระดูก
มนุษย์โครมันยองเพิ่มที่ฝรั่งเศส มนุษย์โครมันยอง มีอายุประมาณ 35,000 ปีBP.จัดเป็นมนุษย์ยุคหิน สูงต่ำกว่า 6 ฟุตเล็กน้อย มีปริมาณมันสมองใกล้เคียงกับชาวยุโรปปัจจุบัน  มีอวัยวะคล้ายมนุษย์ปัจจุบัน จำแนกช่วงเวลามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยอาศัยพัฒนาการเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต         แบ่งเป็น 3 ช่วง  คือ ยุคหินเก่า ( 30,000-16,000 BC. ) ยุคหินกลาง (16,000-10,000 BC.) ยุคหินใหม่ (10,000-1,200 BC.)มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลอย่างสิ้นเชิง หรือมีการผสมข้ามเผ่าพันธุ์กันแน่ เมื่อปี 1997 สมมติฐานข้อหลังได้รับการปฏิเสธจากนักพันธุกรรมสวันเต แพแอโบซึ่งขณะนั้นประจำการอยู่ที่มหาวิทยาลัยมิวนิก โดยอาศัยหลักฐานจากกระดูกแขนมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล แพแอโบและทีมงานสามารถสกัดดีเอ็นเอของ ไมโทคอนเดรีย (mitochondrial NA หรือเทียบได้กับภาคผนวกทางพันธุกรรมที่แนบท้ายข้อความหลักในแต่ละเซลล์) จากตัวอย่างอายุ 40,000 ปีออกมาได้พวกเขาถอดรหัสพันธุกรรมเหล่านั้นและพบว่า ดีเอ็นเอดังกล่าว แตกต่างจากของมนุษย์ในปัจจุบัน ถึงขนาดบ่งชี้ได้ว่าสาแหรกตระกูลของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลและมนุษย์สมัยใหม่แยกจากกันเนิ่นนานก่อนที่มนุษย์สมัยใหม่จะอพยพออกจากแอฟริกาเสียอีก ดังนั้นมนุษย์ทั้งสองเผ่าพันธุ์จึงเป็นตัวแทนของสาแหรกตระกูลมนุษย์ที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่มีภูมิศาสตร์และวิวัฒนาการแยกขาดจากกันอย่างชัดเจน แม้การค้นพบทางพันธุกรรมที่น่าทึ่งของแพแอโบนี้ดูเหมือนจะยืนยันว่า มนุษย์นีแอนเดอร์ทัลเป็นเผ่าพันธุ์ ที่แตกต่างออกไป แต่ก็ไม่ได้ให้ความกระจ่างใดๆในปริศนาลึกลับที่ว่า ทำไมพวกเขาจึงพบกับจุดจบ และเพราะเหตุใดเผ่าพันธุ์ของเราจึงอยู่รอดความเป็นไปได้ที่ชัดเจนประการหนึ่งก็คือ มนุษย์สมัยใหม่ก็แค่ฉลาดกว่า สลับซับซ้อนมากกว่า และเป็น มนุษย์„ มากกว่า กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้เองที่นัก โบราณคดีออกมาระบุถึง การก้าวกระโดดครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 40,000 ปีก่อนในยุโรป เมื่อการสร้างเครื่องมือหินอันแสนยากเย็นของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัลที่เรียกว่า มูสตีเรียน ตามชื่อแหล่งขุดค้นเลอมูสตีเยร์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ถูกแทนที่ด้วยเครื่องมืออันหลากหลายที่ทำจากหินและกระดูก เครื่องประดับร่างกาย และร่องรอยของการแสดงออกทางสัญลักษณ์ อื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับการปรากฏตัวของมนุษย์สมัยใหม่ นักวิทยาศาสตร์บางคนอย่างเช่น ริชาร์ด ไคลน์ นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ยังเชื่อว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมอย่างใหญ่หลวง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น